มะขามแขก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alexandrina P. Miller.
ชื่อพ้อง Cassia angustifolia Vahl
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ชื่อสามัญ Indiad senna, Tinnevelly senna.
ชื่ออื่นๆ
ภาคกลาง มะขามแขก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สูง 0.5 – 1.5 เมตร ลำต้นค่อนข้างขาว และมีกิ่งก้านสาขา ผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ลักษณะคล้ายใบมะขามไทย มีใบย่อยออกเรียงสลับกัน เป็นคู่ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนนุ่มขึ้น ใบมีสีเขียวอ่อนๆ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. และมีกลิ่นเหม็นเขียว

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง มีสีเหลืองสด ลักษณะของดอกจะบานจากโคนไปหาปลายช่อ

ผล ลักษณะเป็นฝัก บางแบน โค้งงอเล็กน้อย คล้ายถั่วลันเตาแต่ป้อมและแบนกว่า รูปขอบขนาน ผลเมื่ออ่อนจะมีสีเขียวแต่พอแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 6 -12 เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ใบและฝัก รสเปรี้ยว ใช้เป็นยาถ่าย ใบจะไซ้ท้องมากกว่าฝัก (อาการไซ้ท้อง คือ ไม่สบายท้อง ปวดมวนเนื่องจากรับประทาน) แก้อาการท้องผูก
ใบ รสเปรี้ยวหวาน ใช้เป็นยาระบายท้อง ถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายพิษไข้ แก้ริดสีดวงทวาร
ฝัก รสเปรี้ยว แก้ท้องผูก แก้ริดสีดวงทวาร ถ่ายพิษไข้ ขับลมในลำไส้
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

มะขามแขก, หน้าใบ

มะขามแขก, หลังใบ
 
มะขามแขก, ช่อดอก
 

มะขามแขก, ดอก

มะขามแขก, หลังดอก
 
มะขามแขก, herbarium ตัวอย่างที่ 1
 
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
Rspg.or.th. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. กรุงเทพฯ: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี; [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค. 2560] เข้าถึงได้จาก: http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_7.htm
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 124.