มะแว้งต้น


ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum indicm L.
ชื่อวงศ์ SOLANACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ มะแคว้ง, มะแคว้งขม, มะแคว้งคม, มะแคว้งดำ
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน สะกั้งแค
เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน หมากแฮ้ง
ภาคกลาง มะแว้ง, มะแว้งต้น
สุราษฎร์ธานี, สงขลา แว้งคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1 - 1.5 เมตร ลักษณะของลำต้นเล็กแข็ง เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ยอดอ่อนและต้นอ่อนมีขนสีขาว

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะใบรูปรีหรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ขอบใบหยักเว้าหยาบๆ มีขนทั่วที่ผิวใบทั้งสองด้าน แผ่นใบสีเขียว ก้านใบยาว ขนาดใบเล็กกว่าใบมะเขือพวง

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจก บริเวณตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยมี 5 - 10 ดอก มีสีม่วงซีด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉกแหลม กลีบดอกมี 5 กลีบรูปไข่ ปลายแหลม เกสรตัวผู้สีเหลืองติดกันเป็นรูปกรวย

ผล เมื่อดอกร่วงแล้วจะติดผล ลักษณะรูปทรงกลมเล็ก ผิวเรียบ ผลอ่อนหรือผลดิบสีขาวไม่มีลาย เมื่อแก่หรือสุกก็จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ข้างในผลมีเมล็ดแบนๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสขื่นขม เป็นยาบำรุง แก้วัณโรค แก้ไอ
ทั้งต้น รสขื่นเปรี้ยว แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา ขับปัสสาวะ
ผล รสขมขื่นเปรี้ยว บำรุงน้ำดี รักษาโรคเบาหวาน แก้ไอ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางไต เจริญอาหาร
ราก รสขมขื่นเปรี้ยว แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ กัดและขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับลม แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 45.