ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees. |
ชื่อวงศ์ |
ACANTHACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
กรุงเทพมหานคร |
ฟ้าทะลาย, ฟ้าทะลายโจร |
สงขลา |
หญ้ากันงู |
จีน |
ซีปังกี |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร ส่วนตรงปลายกิ่งเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งเล็กด้านข้างจำนวนมากลักษณะเป็นพุ่ม กิ่งก้านมีสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปไข่รียาว แคบโคนใบ และปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียว
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ทาง กลีบล่างมี 2 อัน อับเกสรสีม่วงแดง และมีขนยาวๆ
ผล คล้ายฝักต้อยติ่งแต่ผอมและมีขนาดเล็ก เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีกอยู่บนต้น ซึ่งทำให้มองเห็นเมล็ดวางอยู่ในผลได้ชัด ปลายแหลม เมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน |
ประโยชน์ทางยา |
ใบ |
รสขม บดผสมน้ำมันพืชทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้, ใช้ปนกับเพลี้ยใส่ลาบเพื่อเพิ่มความขม ใบสดนำมาเคี้ยวกินหรือต้มน้ำดื่มแก้อาการคออักเสบ เจ็บคอ เป็นยาขมเจริญอาหาร ในใบจะมีสารประกอบที่มีรสขมละลายน้ำได้อยู่ ซึ่งชาวอินเดียจะนำใบมาคั้นเอาน้ำผสมกับเครื่องเทศ เช่น พวกกระวาน อบเชย กานพลู ฯลฯ แล้วนำมาปั้นเป็นเมล็ดกลม ๆ เป็นยารักษาโรคที่มีอาการผิดปกติทางเดินอาหารในเด็ก เป็นยาดองเหล้า (Tincture) และยาชง (Infusion)
|
ต้น |
นำมาตากแห้ง ใช้เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ บำบัดโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารและมาลาเรีย ยาขมบำรุงกำลัง และเป็นยาขับน้ำเหลือง สิ่งสกัดของพืชชนิดนี้จะมีขายอยู่ในประเทศอินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน |
ส่วนเหนือดิน |
บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน |
ทั้งต้น |
รสขม รับประทานแก้ไข้ แก้หวัด แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ปอดอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง ช่วยเจริญอาหาร |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
ข้อมูลเพิ่มเติม |
อ่าน |
เอกสารอ้างอิง |
Eherb.hrdi.or.th. ฟ้าทะลายโจร. เชียงใหม่; โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง: [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค. 2560] เข้าถึงได้จาก: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=100&name=ฟ้าทะลายโจร%20&txtSearch=&sltSearch= |
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 142, 265, 304. |
|
|
|