ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau. |
ชื่อวงศ์ |
ACANTHACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
เชียงใหม่ |
ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด |
ลำปาง |
พญาปล้องคำ |
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน |
โพะโซ่จาง |
พิษณุโลก |
เสลดพังพอนตัวเมีย |
ภาคกลาง |
พญาปล้องดำ, พญาปล้องทอง |
ทั่วไป |
พญายอ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้เถาล้มลุก มีลักษณะเป็นพุ่มแกมเลื้อยเถา มักจะเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่นๆ ลำต้นหรือกิ่งก้าน เกลี้ยง เป็นข้อปล้อง ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียว แตกกิ่งก้านดกทึบ
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ลักษณะใบรูปใบหอกยาวแคบๆ ปลายใบยาวแหลม ไม่มีหนาม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียว ขนาดยาว 7-9 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ก้านใบยาว 0.5 ซม.
ดอก ออกดอกเป็นกระจุกตรงปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกสีเขียวยาวเท่าๆ กัน มีขนเป็นต่อมเหนียวๆ อยู่โดยรอบ กลีบดอกเป็นหลอด ยาว 3-4 ซม. ปลายแยกเป็น 2 กลีบ คือกลีบบนและกลีบล่าง สีแดงอมส้ม เกสรตัวผู้มี 2 เกสรตัวเมียเกลี้ยงไม่มีขน
ผล เป็นผลแห้ง ลักษณะรูปรี แตกออกได้ เมล็ดแบน
|
ประโยชน์ทางยา |
ต้น |
ใช้ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวก |
ใบ |
รสจืดเย็น นำมาสกัดทำทิงเจอร์และกรีเซอรีน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริ่ม Herpes และรักษาแผลร้อนในในปาก Apthousดับพิษร้อน แก้แผลน้ำร้อนลวก |
ราก |
รสจืดเย็น ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว ฝนทาแก้พิษงู ตะขาบ แมงป่อง |
ทั้งต้น |
รสจืดเย็น แก้พิษงู พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้เริม แก้บิด ถอนพิษไข้ ไฟลามทุ่ง โขลกกับดินประสิวเล็กน้อยผสมเหล้าขาวคั้นเอาน้ำดื่มและเอากากพอก |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
พญาปล้องทอง. (2557)สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จากhttps://www.samunpri.com/%E0%B8%
9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%
B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87/
|
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 283, 291. |
|
|
|