บอระเพ็ด


ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thoms
ชื่อวงศ์ MENISPERMACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ เครือเขาฮอ, จุ่งจิง
สระบุรี ตัวเจตมูลยาน, เถาหัวด้วน
หนองคาย เจตมูลหนาม
สระบุรี, อุบลราชธานี หางหนู
ทั่วไป บอระเพ็ด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถา ลำต้นเนื้ออ่อน เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่น ลักษณะเถากลมโตขนาดนิ้วมือ มีไส้เป็นเส้นยาว มีเปลือกหุ้มเถาเป็นตุ่มเล็กๆ กลมๆ ตลอดเถาสีเทาอมดำ เปลือกสามารถลอกออกได้ ยางมีรสขมจัด

ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมมีลักษณะคล้ายใบพลู หรือใบโพธิ์ หรือบอระเพ็ดพุงช้างโตขนาดเท่าฝ่ามือ โคนเว้าเป็นใบรูปหัวใจ เส้นแขนงใบมองเห็นชัดเจน แผ่นใบสีเขียว

ดอก ออกเป็นช่อขนาดเล็กมาก ตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ

ผล ลักษณะรูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง
ประโยชน์ทางยา
เถาหรือลำต้น รสขมเย็น ต้มเคี่ยวกับน้ำใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน เป็นยาขมเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
ใบ รสขมเมา เป็นยาขมเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร รักษาโลหิตพิการ ช่วยระงับอาการสะอึก รักษาโรคพิษฝีดาษ ไข้พิษทุกชนิด เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุไฟ แก้โรคพยาธิ แก้รำมะนาด ปวดฟัน แก้ไข้ โรคผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณผ่องใส รักษาโรคผิวหนัง
ผล รสขม เป็นยารักษาโรคไข้พิษอย่างแรง และเสมหะเป็นพิษ
ราก รสขมเย็น ดับพิษร้อน แก้ไข้ขึ้นสูงที่มีอาการเพ้อคลั่ง ถอนพิษไข้ ช่วยเจริญอาหาร
ทั้งห้า รสขม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย ช่วยเจริญอาหาร รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
ภญ.อัจฉรา แหลงทอง. สมุนไพรใกล้ตัว. หน้า 18.
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 191, 301.