ทองพันชั่ง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz.<br>Rhinacanthus communis Nees
ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ White crane flower
ชื่ออื่นๆ
ภาคกลาง ทองพันชั่ง, ทองคันชั่ง, หญ้ามันไก่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูงประมาณ 50 – 120 เซนติเมตร มักแตกหน่อและแผ่กิ่งก้านออกเป็นกอ ส่วนโคนของลำต้นเนื้อเป็นแกนแข็งลำต้นและกิ่งก้านมีขนประปรายทั่วไป บริเวณข้อ พองเล็กน้อย กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยมตามยาว

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปรี โคนและปลายใบสอบเรียว ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย และแต่ละคู่ออกสลับทิศทางกัน เนื้อใบบางและเกลี้ยง แผ่นใบมีสีเขียวเป็นมัน

ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกรวมกันเป็นหลอดรูปแจกันทรงสูง มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 กลีบ กลีบมีขนยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉกแหลมสั้น ๆ ปลายกลีบล่างห้อยย้อยลง กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร และหยักเป็นสามลอน กลีบบนชี้ตั้งขึ้นปลายแยกเป็นสองลอน ส่วนก้านเกสรจะสั้นติดอยู่ที่ปากท่อดอก เกสรเพศผู้สีน้ำตาลอ่อนยื่นพ้นปากหลอดออกมา

ผล เป็นฝักที่มีขนสั้นๆ คลุม ภายในมี 4 เมล็ด พอแห้งแตกออกได้
ประโยชน์ทางยา
ราก รสเมาเบื่อ แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตามผิวหนัง
หัว รสเมาเบื่อ รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด แก้ไส้เลื่อน ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล
ต้น รสเมาเบื่อ บำรุงร่างกาย รักษาโรคผมร่วง
ใบ รสเมาเบื่อ ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้พิษงู แก้อักเสบ
ทั้งต้น รสเมาเบื่อ รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด แก้ไส้เลื่อน ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

ทองพันชั่ง, ต้น

ทองพันชั่ง, หน้าใบ
 
ทองพันชั่ง, หลังใบ
 

ทองพันชั่ง, ดอก

ทองพันชั่ง, ดอก
 
ทองพันชั่ง, ดอก
 

ทองพันชั่ง, ดอก

ทองพันชั่ง, herbarium ตัวอย่างที่ 1
 
ทองพันชั่ง, herbarium ตัวอย่างที่ 2
 

ทองพันชั่ง, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
ทองพันชั่ง. (2599). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก https://medthai.com/%E0%B8%97%E0% B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1 %E0%B9%88%E0%B8%87/
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 233.