หมวด/ตัวชี้วัด | หลักฐานการตรวจประเมิน |
---|---|
หมวดที่ ๕ สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย | |
๕.๑ อากาศในสำนักงาน (รับผิดชอบโดยคุณปิ่นมณี / คุณอุมาพร / คุณดวงกมล) |
|
๕.๑.๑ การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
(๑) มีแผนการดูแลรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน) (๒) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตาม แผนการดูแลรักษา (๓) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ ๑ (๔) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ ๑ (๕) การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน (๖) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์ (๗) การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษทางอากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี) (๘) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่าย เป็นหลักฐานประกอบ) |
(๑) และ (๒) - แผนการบำรุงรักษาประจำปี 2566 อาคารเภสัชศาสตร์ (๓) รายงานผลตามแผนฯ - สัญญาจ้างล้างเครื่องปรับอากาศและรายงานผลฯ - รายงานการตรวจเช็คเครื่องถ่ายเอกสาร เดือนมกราคม - รายงานการทำความสะอาด เดือนมกราคม (๔) และ (๖) รูปการมีติดป้าย เรื่อง ดับเครื่องยนต์ และการจอดรถ บริเวณหน้าอาคารคณะเภสัชศาสตร์ (๕) รูปการจัดห้องสำหรับการวางเครื่องพิมพ์เอกสารเป็นสัดส่วน โดยอยู่ไม่ติดกับบริเวณโต๊ะทำงาน เป็นห้องมีการเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ - การจัดสถานที่ทำงาน - การวางเครื่องพิมพ์เอกสาร (๗) แผนการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค ประจำปี 2566 (๘) แผนการสื่อสาร |
๕.๑.๒ มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
(๑) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ (๒) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ (๓) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่ (๔) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณ ข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น (๕) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่ |
มีกาติดป้ายประกาศรณรงค์การไม่สูบบุหรี่และผลกระทบต่อสุขภาพ - หลักฐานการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ (๒) รูปป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ (๓)-(๔) - มีการติดป้ายสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่ ในสถานที่ที่กำหนด ซึ่งเป็นบริเวณนอกอาคารคณะ ที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนกับนักศึกษาและบุคลากร รูปป้ายสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่ (๕) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่ |
๕.๑.๓ การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
(๑) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ อากาศจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร (๒) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้ - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงานมีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย |
(๑) ประกาศมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ อากาศจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
- คณะเภสัชศาสตร์ มีการปรับปรุงอาคารในช่วงเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2566 และดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษอากาศ - ประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง (เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม) (๒) หลักฐานการปฏิบัติตามมาตรการ - เนื่องจากบริเวณที่ทางคณะเภสัชศาสตร์ปรับปรุงเป็นส่วนด้านนอกอาคาร และมีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศ โดยไม่กระทบกับการทำงานและการเรียนการสอน - รูปภาพบริเวณห้องที่ปรับปรุง2566 |
๕.๒ แสงในสำนักงาน (รับผิดชอบโดยคุณณัฏฐ์ชยธร) |
|
๕.๒.๑ มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด
(๑) มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปีพร้อม แสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุด ทำงานแลพื้นที่ทำงาน (๒) เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง) (๓) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด (๔) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด |
- มีการประสานงานการตรวจวัดค่าแสงสว่าง (ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์ มศก.)
- หลักฐานก่อนตรวจแสงไฟฟ้า รูปภาพแสดงแสงไฟฟ้าทั้งอาคาร - รายงานผลการตรวจความเข้มของแสงสว่าง |
๕.๓ เสียง (รับผิดชอบโดยคุณดวงกมล) |
|
๕.๓.๑ การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน
(๑) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน (๒) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน |
- คณะเภสัชศาสตร์ มีการปรับปรุงอาคารในช่วงเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2566 ดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษอากาศ และไม่มีผลกระทบต่อการเรียนการสอน และการทำงาน จึงไม่มีการจัดสถานที่สำรองในช่วงเวลาดำเนินการ
- ประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง(เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม) - การประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างช่วง/รับเหมาก่อสร้าง |
๕.๓.๒ การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงาน
ที่ส่งผลต่อพนักงาน
(๑) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่ เกิดจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร (๒) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน แนวทางการกำหนดมาตรการ มีดังนี้ – มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน – มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย |
(๑) ประกาศมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่ เกิดจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
- ประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง(เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม) (๒) หลักฐานการปฎิบัติตามมาตรการ - การประเมินประสิทธิภาพผู้รับจ้าง |
๕.๔ ความน่าอยู่ (รับผิดชอบโดยคุณพีรวัช) |
|
๕.๔.๑ มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของ สำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
(๑) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและ นอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวมและพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้ (๒) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่าง เหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งใน อาคารและนอกอาคาร (๓) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร (๔) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงานรวมไปถึงมีการปฏิบัติ จริงตามแผนงาน |
(๑) และ (๒) แผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและ นอกอาคาร
- ประกาศ_บริบท ขอบเขต และแผนผังองค์กร - การมอบหมายผู้รับผิดชอบและดูแลพื้นที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจ าปี พ.ศ. 2566 (๓) แผนการบำรุงรักษาความสะอาดอาคารคณะเภสัชศาสตร์ประจำปี (๔) มาตรการการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ยังไม่มีมาตรการเพิ่มพื้นที่สีเขียว แต่มีการจัดพื้นที่บางบริเวณตามความเหมาะสมให้มีพื้นที่สีเขียว - รูปพื้นที่สีเขียว |
๕.๔.๒ ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด |
- ประกาศ_บริบท ขอบเขต และแผนผังองค์กร
- แผนผังการแบ่งพื้นที่ |
๕.๔.๓ ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น |
- มีการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม จากเดิมเป็นพื้นปูน เป็นการปูกระเบื้องยางเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละออง อีกทั้งยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย และถือเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการทำงาน
- รูปภาพพื้นและเพดานก่อนการปรับปรุง - รูปภาพพื้นและเพดานหลังปรับปรุง - มีการจัดพื้นที่ส่วนกลาง สำหรับการแลกเปลี่ยนพูดคุย ในช่วงเวลาพัก - มีบริเวณพื้นที่สีเขียว |
๕.๔.๔ มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
(๑) มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ (๒) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ ๑ ครั้ง (๓) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน) (๔) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค (๕) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์นำโรคในระหว่างการตรวจประเมินของกรมฯ หมายเหตุ : การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน |
(๑) (๒) (๔) แผนการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค ประจำปี 2566
(๓) (๕) รายงานการตรวจสอบร่องรอย - สัญญาจ้างกำจัดปลวก มด แมลงสาบและรายงานผลฯ - รูปการป้องกันนกพิราบ - รูปกรงดักหนูบริเวณที่พบร่องรอย - รูปยาฉีดยุง - รายงานการติดตามควบคุมสัตว์พาหะนำโรค เดือนมกราคม |
๕.๕ การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน (รับผิดชอบโดยคุณชลลดา / คุณนิพัทธา) |
|
๕.๕.๑ การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด
(๑) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ (๒) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ ๔๐ ของพนักงานทั้งหมด (๓) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น (๕) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น (๖) มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน (๗) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟไปยังจุดรวมพลพร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน (๘) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟพร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน |
(๑) แผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ - กิจกรรมอพยพหนีไฟ - โครงการอบรมระบบความปลอดภัยและการป้องกันอัคคีภัย สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มศก. วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 (๒) และ (๓) หลักฐาน (๔) รูปกิจกรรมอบรมอพหนีไฟ (๕) รูปกิจกรรมอพยพหนีไฟ (๖) รูปจุดรวมพล (๗) รุปแผนผังเส้นทางหนีไฟ (๘) รูปสัญลักษณ์ทางหนีไฟ |
๕.๕.๒ มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย ๔ คน) | - คณะมีแผนบริหารความต่อเนื่องในสภาวะวิกฤตที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม - แผนบริหารความต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต |
๕.๕.๓ ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย ๔ คน)
(๑) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง – ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่างอย่างน้อย ๒๐ เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจาก พื้นไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร นับจากคันบีบและถ้าเป็นวางกับพื้นที่จะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง – ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี) – สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) ถ้ามี (๒) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน – สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่ มากกว่า ๓๐๐ ตารางเมตรหรืออาคารสูงเกิน ๒ ชั้นขึ้นไป) – ติดตั้งตัวดักจับควัน(smoke detector)หรือความร้อน (heat detector) (๓) มีการตรวจสอบข้อ (๑)-(๒) และหากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข (๔) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้ง เตือนอย่างน้อยร้อยละ ๗๕ จากที่สุ่มสอบถาม (๕) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ |
(๑) รูปภาพแสดงที่ตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
(๒) รูปจุดติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือน (๓) แผนบำรุงรักษาถังดับเพลิงประจำปี ตรวจสอบและรายงานผลฯ (ดูแลโดยคุณกานต์) (๔) - (๕) รูปภาพแสดงที่ตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง |