หมวด/ตัวชี้วัด | หลักฐานการตรวจประเมิน |
---|---|
หมวด ๔ การจัดการของเสีย | |
๔.๑ การจัดการของเสีย (ผู้รับผิดชอบ : คุณศิริพร/คุณอัญชลี/คุณภัทราวดี/คุณกัลยา/คุณยศ/คุณเกตุแก้ว/คุณจิตติไพบูลย์) |
|
๔.๑.๑ มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวมและการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
(๑) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ (๒) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ (๓) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (๑) อย่างเพียงพอ (๔) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ (๕) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย (๖) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม) (๗) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง) |
๔.๑.๑ คณะเภสัชศาสตร์ได้มีการดำเนินงานตาม แนวทาง การคัดแยกรวบรวมและการจัดการขยะ อย่างเหมาะสมและมีการคัดแยกขยะตามประเภท - ขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยมีแนวทางดำเนินงานดังนี้ (๑)-(๓) - ขั้นตอนการดำเนินงาน เรื่องการจัดการขยะ - คลิปวีดีโอแนะนำการคัดแยกขยะ - แผนผังจุดที่ตั้งถังขยะ ๑๓ จุด - หลักเกณฑ์การตั้งถังขยะ ๑๓ จุด - ป้ายบ่งชี้ประเภทขยะ - จุดพักขยะคณะเภสัชศาสตร์ - การคัดแยกขยะ (๔)-(๗) - แบบฟอร์มการสังเกตการณ์การทิ้งขยะ ในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (google form) - แบบฟอร์มการตรวจสอบการคัดแยกขยะ ของแม่บ้าน/คนงาน/คนสวน ณ จุดพักขยะ - จุดพักขยะมหาวิทยาลัยศิลปากร - สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย เทศบาลนครนครปฐม - แสดงเส้นทางเดินรถขยะ - ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน
|
๔.๑.๒ การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
(๑) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (๒) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน (๓) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนด จากหมวด ๑ ข้อ ๑.๑.๕ (๔) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง |
๔.๑.๒ การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง (๑) มีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ - การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารและเศษใบไม้ (๒) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท - ข้อมูลปริมาณขยะ ๒๕๖๕ (๓)-(๔) - การวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมาย |
๔.๒ การจัดการน้ำเสีย (ผู้รับผิดชอบ : คุณงามศิลป์/คุณมนตรี/คุณเยาวรักษ์/คุณกัญธมล/คุณคุนารี/คุณกานต์/คุณสุรีย์) |
|
๔.๒.๑ การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง จะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
โดยมีแนวทาง ดังนี้
(๑) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล (๒) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษ อาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย (๓) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย (๔) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด |
๔.๒.๑ การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง จะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย - การจัดการนำ้เสียในสำนักงาน - การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย (๒) การบำบัดน้ำเสียโดยติดตั้งบ่อดักไขมัน (๓) มีการบำบัดน้ำเสียทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสียโดย - ติดตั้งบ่อดักไขมัน ๕ จุด (๔) สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด - รายงานผลการวิเคราะห์น้ำทิ้งจากอาคารคณะเภสัชศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๕ - ผลการวิเคราะห์น้ำทิ้งจากอาคารคณะเภสัชศาสตร์ เทียบกับมาตรฐานควบคุมการ ระบายน้ำทิ้งจากอาคาร ประเภท ข |
๔.๒.๒ การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทาง ดังนี้
(๑) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหารและไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน (๒) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียหรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง (๓) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ (๔) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ |
๔.๒.๒ การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย
(๑) บันทึกการตักคราบน้ำมัน ไขมัน และตรวจเช็คสภาพถังบำบัด (๒) การนำเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากบ่อดักไขมัน ไปทำปุ๋ยอินทรีย์ - ขั้นตอนและกระบวนการในการกำจัดไขมันถังดักไขมัน (๓) คณะเภสัชศาสตร์ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย แต่ระบายน้ำเสียลงบ่อบำบัดของมหาวิทยาลัย
(๔) การตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสีย เพื่อป้องกันการปนเปิื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ |