ชุมเห็ดเทศ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alata (L.) Roxb.
ชื่อพ้อง Cassia alata L.
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ชื่อสามัญ Ringworm Bush, Candelabra Bush, Seven Golden Candle-stick, Acapulo, Candle bush
ชื่ออื่นๆ
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ชุมเห็ดใหญ่, ตะลี่พอ
ภาคเหนือ ขี้คาก, ลับมืนหลวง, หมากกะลิงเทศ
ภาคกลาง, ภาคใต้ ชุมเห็ดเทศ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ขนาดกลาง สูงประมาณ 2 – 3 เมตร แตกกิ่งก้านน้อน เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ก้านใบยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง ลักษณะคล้ายกับใบมะยมแต่ละโตและยาวกว่าประมาณ 10 - 12 ซม. และกว้างประมาณ 3 - 6 ซม.

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีความยาวประมาณ 30 - 60 ซม. ลักษณะใบรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ฐานใบมน และไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ขอบใบเรียบ สีแดง ใบจะมีความกว้างประมาณ 5 - 7 ซม. และยาวประมาณ 5 - 15 ซม. ก้านใบแข็ง ตั้งฉากกับกิ่ง ใบย่อยเรียงตัวเป็นคู่ๆ 8 – 20 คู่ และอยู่ในระนาบเดียวกัน ก้านใบย่อยสั้นมาก

ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ชูตั้งขึ้นไปตามซอกใบและปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 20 - 50 ซม. ในแต่ละช่อจะประกอบด้วยดอกหลายดอก มีใบประดับสีน้ำตาลแกมเหลืองหุ้มดอกตูม ดอกมีสีเหลือง ดอกตูมคล้ายดอกข่า และเมื่อดอกบานจะมีสีเหลืองเข้ม กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปขอบขนานสีเขียว ตรงปลายจะแหลม ก้านดอกสั้นและมีลายเส้นเห็นชัดเจน เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 9 - 10 อัน แต่มีความยาวไม่เท่ากันอับเรณูเมื่อแก่จะมีรูเปิดที่ยอด ส่วนเกสรตัวเมียนั้นมีอยู่1อันผิวเกลี้ยง

ผล จะติดผลเมื่อดอกโรยแล้ว ลักษณะเป็นฝักแบน หนา ไม่มีขน มีความกว้างประมาณ 1.5 - 2 ซม. และยาวประมาณ 10 - 15 ซม. จะมีปีกอยู่ 4 ปีก มีความกว้างประมาณ 5 - 8 มม. และยาวประมาณ 7 - 10 มม. มีครีบคล้ายถั่วพู ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ และเมล็ดมีสีดำแบนลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมประมาณ 50 – 60 เมล็ด ผิวนอกขรุขระ
ประโยชน์ทางยา
ต้น รสเบื่อเอียน ใช้ขับพยาธิในลำไส้ ถ่ายพิษตานทรง รักษาซาง โรคผิวหนัง ถ่ายเสมหะ รักษาฟกบวม รักษาริดสีดวง ดีซ่าน และฝี ใช้เป็นยารักษาคุดทะราด และกลากเกลื้อน รักษากษัยเส้น ขับพยาธิ และขับปัสสาวะ รักษาท้องผูก และทำให้หัวใจเป็นปกติ
ใบ รสเบื่อเอียน จะมีกลิ่นฉุน ต้มน้ำกินเป็นยาระบาย อมบ้วนปากและใช้เป็นยาฆ่าพยาธิตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคันเส้นประสาทอักเสบ รักษากษัยเส้น ขับปัสสาวะและรักษากระเพาะอาหารอักเสบ บดผสมกระเทียมหรือน้ำปูนใสทาแก้กลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง ฝีและแผลพุพอง
ดอก รสเอียน ใช้เป็นยาระบาย ยาถ่าย บรรเทาอาการท้องผูก ถ่ายพยาธิลำไส้
ฝักและเมล็ด รสเอียนเบื่อ แก้พยาธิ เป็นยาระบาย ขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน
ต้น ราก ใบ รสเบื่อเอียน แก้กระษัยเส้น ทำให้หัวใจปกติ แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

ชุมเห็ดเทศ, ต้น

ชุมเห็ดเทศ, หน้าใบ
 
ชุมเห็ดเทศ, หลังใบ
 

ชุมเห็ดเทศ, ช่อดอก

ชุมเห็ดเทศ, กลีบรองดอก
 
ชุมเห็ดเทศ, ฝัก
 

ชุมเห็ดเทศ, herbarium ตัวอย่างที่ 1

ชุมเห็ดเทศ, herbarium ตัวอย่างที่ 2
 
ชุมเห็ดเทศ, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
ชุมเห็ดเทศ. (2557). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A %E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
ชุมเห็ดเทศ. (2554). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จากhttp://www.samunpri.com/%E0%B8%8A% E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9 %80%E0%B8%97%E0%B8%A8/
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ชุมเห็ดเทศ. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2562, จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/cassiaal.html
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 118, 230, 258.