ข่า


ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia galanga (L.) Willd.
ชื่อพ้อง Languas galanga (Linn.) Sw.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ Greater Galangal, Galangal.
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ ข่าหยวก, ข่าหลวง
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เสะเออเคย, สะเอเชย
ภาคกลาง กฏุกกโรหินี
ทั่วไป ข่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงประมาณ 1.5 – 2 เมตร มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า มีข้อและปล้องชัดเจน เลื้อยขนานพื้นดินและแตกแขนงเป็นแง่ง เหง้าหัวมีขนาดใหญ่ด้วนสีขาว ลำต้นเทียมเหนือดินคือส่วนของกาบใบที่หุ้มซ้อนทับกันมีสีเขียวทรงกระบอกกลม เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ

ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบเวียนรอบต้น ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบและบางช่วงเป็นคลื่น ปลายใบเป็นติ่งแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเฉียงและสอบเรียวเข้าหาก้านใบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม.

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ตรงปลายยอด แกนกลางช่อมีขนและดอกดช่อจะจัดอยู่ด้วยกันอย่างหลวมๆ ช่อที่ยังอ่อนจะมีใบประดับรูปไข่ลักษณะเป็นกาบสีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด ดอกสีขาวขนาดเล็ก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่มีริ้วสีแดง

ผล ลักษณะรูปทรงกระบอกหรือกลมรี ขนาดเท่าเม็ดบัว ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีแดงอมส้ม และภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีดำ มีรสขมและเผ็ด ผลแห้งแตกได้ ถิ่นที่พบในประเทศไทย
ประโยชน์ทางยา
เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน รสเผ็ดร้อนขม แก้ฟกช้ำ แก้บวม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่น แก้กลาก เกลื้อน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนในท้อง ขับลมในสตรีหลังคลอดบุตร ใช้ภายนอกรักษาอาการคันในโรคลมพิษ ช่วยย่อยอาหาร แก้บิด แก้ลมพิษ แก้โรคปวดบวมตามข้อ หลอดลมอักเสบ มีฤทธิ์กดหัวใจ กระตุ้นการหายใจ กดการหายใจ กระตุ้นการหายใจในเด็ก เป็นยาธาตุ
ผล รสเผ็ดร้อนฉุน ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้บิด แก้แน่นหน้าอก
ต้นแก่ นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย เป็นตะคริว ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ
สารสกัดจากข่า มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
น้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีฤทธิ์ทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับสะเดาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงข่า ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน
ใบ รสเผ็ดร้อน แก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ต้มอาบแก้ปวดเมื่อยตามข้อ
ต้น รสเผ็ดร้อนซ่า ต้นแก่โขลกผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้ตะคริว แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ
ดอก รสเผ็ดร้อน เป็นยาแก้กลากเกลื้อน
หน่อ รสเผ็ดร้อนหวาน บำรุงไฟธาตุ แก้ลมแน่นหน้าอก
เหง้าและราก รสร้อนปร่า ขับลม แก้ปวดท้อง ท้องเสีย จุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
ราก รสร้อนปร่า ขับเสมหะ ขับโลหิต แก้เหน็บชา ขับหลอดลม
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

ข่า, เหง้า

ข่า, ต้น
 
ข่า, หน้าใบ
 

ข่า, หลังใบ

ข่า, ช่อดอก
 
ข่า, ดอก
 

ข่า, herbarium ตัวอย่างที่ 1

ข่า, herbarium ตัวอย่างที่ 2
 
ข่า, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
ข่า. (2559). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2_(%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A)
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 84, 227.