มะขาม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indice L.
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ชื่อสามัญ Indian date, Tamarind.
ชื่ออื่นๆ
เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน หมากแกง
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน มอดเล, ส่ามอเกล
กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี ม่องโคล้ง
ชาวบน-นครราชสีมา ตะลูบ
เขมร-สุรินทร์ อำเปียล
ทั่วไป มะขาม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10 - 30 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ลำต้นและกิ่งเหนียว ปลายกิ่งห้อยลู่ลง เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนและแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็กๆ เปลือกต้นด้านในมีสีแดงเรื่อๆ แก่นสีน้ำตาลเข้ม กระพี้สีขาว

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ชั้นเดียวออกเรียงสลับ ใบย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะใบรูปขอบขนาน ปลายใบเว้าบุ๋มหรือมน โคนใบมน ออกใบเป็นคู่ๆ เรียงกันตามก้านใบแบบตรงข้ามประมาณ 10 - 18 คู่ แผ่นใบเรียบบางสีเขียว ใบอ่อนสีออกแดงเรื่อๆ หรือชมพู

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ช่อหนึ่งมีประมาณ 10 - 15 ดอก ออกช่อตามปลายกิ่งและซอกใบ มีกลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ สีเหลืองหรือเขียวอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองประแต้มสีแดงส้ม

ผล เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผลเป็นฝักกลม แบนเล็กน้อย คอดเป็นข้อตามเมล็ด และมีก้าน เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อ แรกๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อผลแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่

เมล็ด เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลมแป้น เปลือกผิวเกลี้ยงมีสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลเข้ม
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสเปรี้ยวฝาด ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิด ฟอกโลหิต ขับลมในลำไส้ รักษาหวัด ขับเหงื่อ เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้ตามัว หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ, ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำโกรกศึรษะแก้หวัด คัดจมูก
ผลหรือฝักดิบ รสเปรี้ยว ช่วยฟอกเลือดและลดความอ้วน เป็นยาระบาย ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้
เนื้อในฝัก รสเปรี้ยว เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ ฟอกโลหิตสตรีหลังคลอด
เมล็ดใน รสมัน ขับพยาธิไส้เดือนในลำไส้ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน บำรุงกำลัง
เปลือกเมล็ด รสฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก คอ ลิ้นและตามร่างกาย รักษาแผลสด
เปลือกต้น รสฝาดเมาร้อน แก้เหงือกบวม ฆ่าแมลงกินฟัน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ต้มหรือฝนกับน้ำปูนใสชะล้างบาดแผลและทารักษาบาดแผลเรื้อรัง
ทั้งต้น รสฝาดเมา แก้ไข้ตัวร้อน
แก่น รสฝาดเมา กล่อมเสมหะและโลหิต รักษาฝีในมดลูก เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่
ราก รสฝาด แก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 30, 121.